วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย ชะมวง (Garcinia cowa Roxb.)



ชื่อ ชะมวง

ชื่ออื่น ส้มม่วง หวากโมก มวง กะมวง ตระมูง ส้มงวง ส้มโมง มวงส้ม กานิ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb.

วงศ์ GUTTIFERAE

ชื่อสามัญ Cowa

แหล่งที่พบ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนื

ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 4 – 10 เมตร แตกกิ่งสาขาของลำต้นเปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม
     ใบ ใบเดียวขอบใบเรียบ ใบหนายาวสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมม่วงแดง ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน บริเวณปลายกิ่งมักแตกเป็น1 – 3 ยอด ตัวใบค่อนข้างหนาและด้านสีขาวกว้าง 1.2 – 1.9 ซม. ตัวใบยาว 18 – 20 ซม. ขอบใบเรียบมีกลิ่นเล็กน้อย ไม้ผลัดใบ
     ดอก ดอกสีขาวนวลมี 3 กลีบ มีขนาดเล็กกลีบแข็งสีนวลเหลืองมีกลิ่นหอม ออกจำนวนมาก ขนาด 1 – 1.5 ซม. ดอกออกตามกิ่ง
     ผล ผลทรงกลมข้างผลเว้าเป็นพู เมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม ผลมีเนื้อหนาสีเหลืองรสฝาด และมีเมล็ดอยู่ภายใน จำนวน 4 – 6 เมล็ด

ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อนใบอ่อน
การขยายพันธุ์ เมล็ด ตอนกิ่ง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ป่าโคก ป่าโปร่ง
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ เดือน พฤษภาคม
คุณค่าทางอาหาร ในส่วนใบชะมวงที่รับประทานได้ 100 กรัม มีองค์ประกอบทางโภชนาการดังนี้
Cal 52 Unit
Moist ure 84.1 %
Protein 1.9 Gm.
Fat 0.6 Gm.
CHO 9.6 Gm.
Fibre 3.2 Gm.
Ash . 0.6 Gm
Ca 27 mg.
P 13 mg.
Fe  1.1 mg.
A.I.U 7333
B1  0.7 mg.
B2 0.04 mg.
Niacin 0.2 mg.
C 29 mg.

การปรุงอาหาร ยอดอ่อนใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว นำไปปรุงอาหาร เช่น แกงกับหมู ต้มส้ม

ลักษณะพิเศษ ยอดอ่อนใบอ่อน มีรสเปรี้ยวช่วยระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ

ข้อควรระวัง -