วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย กรดน้ำ (Scroparia dulcis Linn.)



ชื่อวิทยาศาสตร์ :  
Scroparia dulcis Linn.

ชื่อสามัญ :  
Sweet Broomweed, Macao Tea

ชื่อวงศ์ : 
SCROPHULARIACEAE

ชื่ออื่น : 
 ขัดมอนเล็ก, กัญชาป่า, กระต่ายจามใหญ่, มะไฟเดือนห้า, เทียนนา (จันทบุรี), ขัดมอนเทศ (ตรัง), หญ้าหัวแมงฮุน,หญ้าจ้าดตู้ด (เหนือ), ตานซาน (ปัตตานี), หูปลาช่อนตัวผู้ (ตราด), เอี่ยกำเช้า (จีนแต้จิ๋ว), หญ้าพ่ำสามวัน (ฉาบ), แหย่กานฉ่าน (จีนกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
      ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นไร้ขน มีความสูงประมาณ 25-80 ซม.
      ใบ : เป็นสีเขียวแก่ ใบเล็ก ขอบของใบจะหยักแบบฟันปลายาวประมาณ 1-2 นิ้ว ใบออกตรงข้ามกันเป็นเกลียวรอบกิ่ง
      กิ่ง : กิ่งเล็กเรียว กิ่งแผ่สาขามาก
      ดอก : ดอกสีขาว เล็ก กลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 กลีบ เกสรตัวเมียมี 1 อัน ต้นหนึ่งจะมีดอกมาก

ส่วนที่ใช้ :  
      ใบ, ลำต้น, ราก

สรรพคุณทางสมุนไพร :
      ใบ   รสฝาด ขับระดูขาว แก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดฟัน
      ต้น   รสฝาด แก้ไอ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง แก้ลำไส้อักเสบ แก้ผื่นคัน แก้ขัดเบา ลดอาการบวมน้ำ แก้ เหงือกบวม แก้ปากเปื่อย
      ลูก   รสฝาดเมา ขับพยาธิไส้เดือน
      ราก   รสฝาด ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้โรคเบาหวาน แก้ผื่นคัน สมานลำไส้ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้จุกเสียด

ตำรับยา :
     1. เด็กที่เป็นไข้ให้ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 15 กรัม นำมาต้มใส่น้ำ ใส่น้ำตาลพอมีรสชาติ แล้วกรองเอาน้ำกิน
     2. เป็นผื่นคัน ให้ใช้ลำต้นที่สดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาทาที่เป็น
     3. ขาบวมเนื่องจากเป็นโรคเหน็บชา ใช้ลำต้นที่สดขนาด 30 กรัม แล้วเอากินทุกเช้า-เย็นหลังอาหาร
     4. เป็นหัด ให้ใช้ลำต้นที่สด ต้มแล้วกรองเอาน้ำกินติดต่อกัน 3 วัน
     5. ลำไส้อักเสบ ปวดท้อง ปัสสาวะขัด ใช้ลำต้นขนาด 15-30 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำกิน
     6. มีอาการเจ็บคอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 120 กรัมตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง รับประทาน
     7. ไอ ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 30-60 กรัม ต้มให้เดือดแล้วเอาน้ำรับประทาน

สารเคมีที่พบ :
   
     ต้นสด มี tritriacontone,sitosterol,d-mennitol,dulciol,dulcioline,scoparol,amellin,betulinic acid,iffaionic acid,benzoxazolinone,friedilin,glutinol,l-amyrin,dulcioic acid และ แอลคาลอยด์ ราก มี d-mannitol และ tannin, เปลือก มี hexacosanol,B-sitosterol และ d-mannitol

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย ใบบัวบก (Centella asiatica (Linn.) Urban.)



ชื่อวิทยาศาสตร์ :     
     Centella asiatica (Linn.) Urban.

ชื่อสามัญ :            
     Asiatic Pennywort

วงศ์ :                 
     UMBELLIFERAE

ลักษณะทางพฤกศาสตร์ :
     ใบบัวบก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่ขึ้นบนดิน แต่มีลักษณะใบคล้ายกับใบบัว 

ส่วนที่ใช้ :
     ใบ ต้น  

สรรพคุณ :
     การรับประทานใบบัวบก ไม่ว่าจะเป็นการทานสด เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือคั้นน้ำ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากความกังวลและความเครียดได้ เนื่องจากในใบบัวบกประอบด้วยวิตามินบี1,บี2 และบี6 ในปริมาณสูง  นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายหลั่ง GABA  (gamma-aminobutyric acid)  ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในปริมาณที่มากขึ้นด้วย   จากการศึกษายังพบว่า การรับประทานใบบัวบกจะทำให้คุณสามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ความจำดีขึ้น  และใบบัวบกยังช่วยกำจัดสารพิษซึ่งสะสมในสมองและระบบประสาท  ตลอดจนช่วยกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกายประเภทโลหะหนักและยาต่างๆได้เป็นอย่าง ดี
      ใบบัวบกจะช่วยลดขนาดของเส้นเลือดขอด เนื่องจากใบบัวบกจะทำให้คอลลาเจนที่หุ้มรอบเส้นเลือดดำยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนผ่านเส้นเลือดดำเป็นไปได้สะดวกขึ้นใบบัวบกเพื่อรักษาความ ผิดปกติที่ตับและไต เช่น ตับอักเสบ  โรคตับที่เกิดจากการดื่มสุรา   ข้ออักเสบ  รูมาไทติส  รำมะนาด(เหงือกอักเสบ)  และจากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้พบว่าในใบบัวบกยังมีสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย

ประโยชน์ :
       สาร ไตรเตอพีนอยด์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างคอลลาเจน(ซึ่งเปรียบเสมือนร่างแหที่ประกอบ กันเป็นโครงสร้างหลักของเซลล์ในส่วนต่างๆของร่างกาย  และยังเป็นผนังที่หุ้มล้อมรอบหลอดเลือดอีกด้วย)  ดังนั้นใบบัวบกจึงสามารถลดความดันเลือดได้เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เส้นเลือด  ใบบัวบกจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นเบาหวานเพราะ จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนผ่านเส้นเลือดฝอย การแลกเปลี่ยนออกซิเจนผ่านเส้นเลือดฝอย จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบวม  เส้นประสาทเสื่อม เหน็บชา แขนขาอ่อนแรง    นอกจากนี้ใบบัวบกทำให้ผิวหนังเต่งตึงและมีความยืดหยุ่นขึ้น    ตลอดจนช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นและช่วยในขบวนการหายของแผล เนื่อง จากใบบัวบกจะควบคุมไม่ให้เกิดการสร้างคอลลาเจนบริเวณแผลมากจนเกินไป   ดังนั้นจึงนิยมนำใบบัวบกไปใช้ในการรักษาแผลต่างๆอาทิเช่น แผลผ่าตัด การปลูกถ่ายผิวหนัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง หรือแม้แต่แผลจากโรคเรื้อน
ผู้ที่ควรทานใบบัวบกได้แก่
      1. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม อาทิ ผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง
      2. ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องใช้สมองอย่างมาก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำ
      3. ผู้ที่มีความเครียดสูงจากการทำงานหนัก
      4. ผู้ที่มีความผิดปกติทางผิวหนัง และกล้ามเนื้อโดยมีอาการฟกช้ำ และผิวหนังอักเสบ
      5. ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เพราะช่วยเร่งการสมานแผลให้เร็วยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย กล้วยน้ำว้า (Musa ABB cv. Kluai 'Namwa')



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   
     Musa ABB cv. Kluai 'Namwa'

ชื่อสามัญ  
     Banana

วงศ์  
     Musaceae

ชื่ออื่น :  
     กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่, เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
     กล้วยน้ำว้า เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ

ส่วนที่ใช้ :
     หัวปลี  เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบ

สรรพคุณ :
     รากแก้ขัดเบา
     ต้น - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน
     ใบ - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
     ยางจากใบ - ห้ามเลือด สมานแผล
     ผล - รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง
     กล้วยน้ำว้าดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย
     กล้วยน้ำว้าสุกงอม - เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด
     หัวปลี - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม
แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
      1. แก้โรคกระเพาะ - นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน
      2. แก้ท้องผูก - ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
      3. แก้ท้องเดิน - ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
     ขับน้ำนม - ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ
     แก้ท้องเดินท้องเสีย - ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง

สารเคมีที่พบ :
     หัวปลี  มีธาตุเหล็กมาก
     หัวปลี และราก มี Triterpene หรือ Steroid
     ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ (โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และโปรแตสเซียมในกล้วยหอมมีมาก) วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมี
Serotonin Noradrenaline และ Dopamine
     ผลดิบ มีแป้ง Tannin acid, Gallic acid และ Pectin มาก
     กล้วยหอมสุก ให้กลิ่น และรสของ Amyl acetate, Amylbutyrate Acetaldehyde, Ethyl alcohol และ Methyl alcohol
น้ำยาง มี Pelargonidin, Cyanidin, Delphinidin Palonidin Petunidin และ Malvidin

ประโยชน์ทางยาของกล้วยหอม :
      กล้วยหอมเป็นผลไม้ รสหวาน เย็น ไม่มีพิษ สารอาหารที่สำคัญๆ ในกล้วยหอม ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามินหลายชนิด จัดเป็นผลไม้บำรุงร่างกายดี นอกจากนี้กล้วยหอมยังสามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น เป็นยาทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้กระหาย ถอนพิษ นอกจากนี้ยังพบว่า มีฤทธิ์รักษาตามตำรับยา ดังนี้
     รักษาความดันโลหิตสูง - เอาเปลือกกล้วยหอมสด 30-60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าเอาปลีกล้วยต้มรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้
     รักษาริดสีดวงทวาร แก้ท้องผูก - รับประทานกล้วยหอมสุกตอนเช้า ขณะท้องว่างวันละ 1-2 ผล ทุกวัน
     รักษามือเท้าแตก - เอากล้วยหอมที่สุกเต็มที่ เจาะรูเล็กๆ ที่ปลายข้างหนึ่ง แล้วบีบเอากล้วยออกมาทาที่เท้าแตก ทิ้งไว้หลายชั่วโมง จึงล้างออก จะรู้สึกดีขึ้น

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.)



ชื่อวิทยาศาสตร์  
     Phyllanthus emblica  L.

ชื่อสามัญ : 
     Emblic myrablan, Malacca tree

วงศ์ :   
     Euphorbiaceae

ชื่ออื่น :  
     กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
     มะขามป้อมเป็นไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ  ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
 
ส่วนที่ใช้ :
     น้ำจากผล ผลโตเต็มที่

สรรพคุณ :
     น้ำจากผล  -  แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
     ผล - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
     ผลโตเต็มที่ จำนวนไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้

ประโยชน์ของมะขามป้อม :
     แก้หวัด
ผลมะขามป้อมมีสรรพ-คุณแก้หวัด แก้ไอได้ดี เป็นที่รู้กันในทุกประเทศที่มีมะขามป้อม จนปัจจุบันมีสิทธิบัตรจดในประเทศสหรัฐอเมริกาของตำรับยาที่มีส่วนผสมของ มะขามป้อมอยู่ระบุสรรพคุณในการแก้หวัด แก้ไข้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากวิตามินซีหรือสาร ในกลุ่มแทนนิน
อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง ให้ใช้ผลสด ๑๕-๓๐ ผล คั้นเอาน้ำ มาจากผล หรือต้มทั้งผลแล้วดื่ม แทนน้ำเป็นครั้งคราว
      ไข้จากเปลี่ยนอากาศ
ใช้มะขามป้อมสดตำคั้นน้ำดื่ม จะช่วยลดไข้ได้ ดื่มวันละ ๓-๔ ครั้ง ครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา น้ำคั้นมะขามป้อมเป็นยาเย็นช่วยลดความ ร้อน และระบายความร้อนออกจากร่างกาย โดยช่วยขับปัสสาวะและระบายท้อง
      ไอ เจ็บคอ เสมหะติดคอ
ตามตำรายาไทยเชื่อว่าของที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิดช่วยละลายเสมหะ และหมอยา พื้นบ้านเชื่อว่ารสเปรี้ยวที่ละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้ดีที่สุดคือมะขาม ป้อม ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าในมะขามป้อมมีสารที่ละลายน้ำได้มีฤทธิ์ละลายเสมหะ และที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมีการพัฒนายาแก้ไอมะขามป้อมขึ้นทะเบียน ยาเป็นยาแผนโบราณ เป็นที่นิยมของทั้งผู้ใช้ยาและแพทย์ โดยตำรับยาทำได้ง่ายๆ เพียงแต่ นำมะขามป้อมแห้งมาต้มแล้วแต่งรส
มะขามป้อมที่จะนำมากินแก้ไอ เจ็บคอ ควรเลือกลูกที่แก่จัดจนผิวออกเหลือง
เมื่อมีอาการเป็นหวัด ไอ ให้นำมะขามป้อมสดมาเคี้ยวอมกับเกลือทุกครั้งที่มีการไอ
ถ้าไม่ไอแต่ยังมีไข้อยู่ก็ควรอมมะขามป้อมเพื่อให้ชุ่มคอและขับเสมหะ เป็นการป้องกันการไอได้ด้วย
ละลายเสมหะ แก้การกระหายน้ำ ใช้ผลแก่จัด มีรสขม อมเปรี้ยว อมฝาด เมื่อกินแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ ใช้สำหรับช่วยละลายเสมหะ กระตุ้นให้เกิดน้ำลาย จึงช่วยแก้การกระหายน้ำได้ดี หรือใช้ผลแห้งประมาณ ๖-๑๐ กรัม ถ้าใช้ผลสดประมาณ ๑๐ กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือคั้นเอาน้ำสำหรับดื่ม
ขับเสมหะ หรือช่วยระบายของเสีย ให้ใช้ผลสด ๕-๑๕ ผล ต้มหรือคั้นน้ำมาดื่ม
บำรุงเสียง
      มะขามป้อมสดสามารถช่วยบำรุงเสียงได้ เพราะเวลาอม มะขามป้อมจะทำให้ชุ่มคอ คอไม่แห้ง เสียงจะสดใส นักร้องสมัยก่อนมักจะเฉือนลูกมะขามป้อมชิ้นหนึ่งมาอมไว้จนร้องเสร็จเพื่อ ป้องกันไม่ให้เสียงแห้ง
      บำรุงผม
ผลแห้งของมะขามป้อมมีสรรพคุณ เป็นสารชะล้างอ่อนๆ คนอินเดียนิยมนำมา ใช้ทำเป็นแชมพูสระผม คนอินเดียเชื่อว่ามะขามป้อมบำรุงผม ช่วยทำให้ผมดกดำและป้องกันผมหงอกก่อนวัย ป้องกันผมร่วง
     ในอินเดียมีการนำมะขามป้อมมาทำเป็นน้ำมันบำรุงให้ผมดกดำ ป้องกันการหงอกก่อนวัย
นำลูกมะขามป้อมมาฝานเป็นแว่นเล็กๆ ตากให้แห้งในที่ร่ม นำมาทอดในน้ำมันมะพร้าว ทอดจนเนื้อมะขามป้อมไหม้เกรียม แล้วกรองเก็บไว้ทาผมเป็นประจำ ยาน้ำมันนี้ ถ้าได้ เนื้อลูกสมอไทยและดอกชบาแดง ใส่ลงไปทอดด้วย จะทำให้น้ำมันมีสรรพคุณดียิ่งขึ้น ซึ่งตำรับนี้โรงพยาบาลเจ้าพระยา- อภัยภูเบศรได้พัฒนามาเป็นน้ำมันหมักผมมะขามป้อม สมอไทย และได้ใส่ดอกอัญชันลงไปแทนดอกชบา ซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก วิธีทำก็ง่ายๆ ตามที่เขียนไว้ในสูตรน้ำแช่ลูกมะขามป้อมแห้งสามารถบำรุงผมได้ ขั้นตอนก็คือ นำลูกมะขามป้อมแห้ง ๑ กำมือ แช่ในน้ำ ๑ ขัน แช่ไว้ตลอดคืน เมื่อเวลาสระผมเสร็จแล้ว ให้เอาน้ำแช่มะขามป้อมนี้ล้างเป็นน้ำสุดท้าย
มีการศึกษาพบว่าสารในมะขามป้อมช่วยกระตุ้นการงอกของผม และมีการจดสิทธิบัตรส่วนผสมที่มีมะขามป้อมที่ใช้กับเส้นผม
บำรุงร่างกายให้แข็งแรง
      มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว ฝาด ขม เช่นเดียวกับสมอไทย จึงสามารถ แก้โรคต่างๆ ได้มากเช่นเดียวกับสมอไทย
ตำรายาอินเดียยกย่องมะ ขามป้อมไว้มากว่า เป็นผลไม้บำรุงร่างกายที่ดีมาก ตำราบางเล่มถึงกับกล่าวว่า ถ้าคนอินเดียไม่มองข้ามมะขามป้อม คือเอามะขามป้อมมากินเป็นประจำวันละ ๑ ลูก ทุกวัน เขาเชื่อว่าคนอินเดียจะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงกว่านี้มากนัก ทั้งนี้เพราะมะขามป้อมบำรุงอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย คือ บำรุงผม สมอง ดวงตา คอ หลอดลม ปอด หัวใจ กระเพาะ ลำไส้ ตับ ไต ตับอ่อน ผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย ปรับประจำเดือนให้มาปกติ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ช่วยลดความดันเลือดสูง ปัจจุบันมีการศึกษาพบประโยชน์มากมายของมะขามป้อมในการลดความดัน ลดน้ำตาลและลดไขมันในเลือด
การกินมะขามป้อมช่วยควบคุม โรคเบาหวานทางอายุรเวท พบว่าการ ดื่มน้ำมะขามป้อมคั้นสด ๑ ช้อนโต๊ะ (๑๕ ซีซี) กับน้ำมะระขี้นกคั้นสด ๑ ถ้วย ทุกวันเป็นเวลาสองเดือนสามารถกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินและลดระดับ น้ำตาลในเลือด ได้ การกินยาตำรับนี้ต้องมีการควบคุม อาหารอย่างเข้มงวด และยาตำรับนี้ยังลดอาการแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน
ลักปิดลักเปิด
      มะขามป้อมมีวิตามินซีสูงมาก และเป็นวิตามินซีธรรมชาติ ที่มีสรรพคุณดีกว่าวิตามินซีสังเคราะห์
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ทด-ลองให้คนกินยาเม็ดวิตามินซีกับกินมะขามป้อมเปรียบเทียบกัน
พบว่า วิตามินซีจากมะขามป้อมถูกดูดซึมเร็วกว่าวิตามินซีเม็ด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในมะขามป้อมมีสารอื่นๆ ที่ช่วยพาวิตามินซีเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็ว
มะขามป้อมที่ผ่านการต้ม หรือตากแห้ง ทำให้วิตา-มินซีลดลง แต่ก็ยังเพียงพอที่จะใช้รักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ ถ้าเก็บไว้ไม่เกิน ๑ ปี
      กระหายน้ำ
มะขามป้อมสดๆ เมื่อรู้สึกคอแห้ง กระหายน้ำจัด ถ้าดื่มน้ำมากกะทันหันจะทำ ให้จุกเสียดไม่สบายได้ ถ้าได้อมมะขามป้อมก่อน อาการกระหายน้ำและคอแห้งอย่างแรงจะรู้สึกดีขึ้นทันที ไม่ทำให้ ดื่มน้ำมากไป เหมาะแก่การเดินทางไกล วิ่งมาราธอน
เวลาอมก็ใช้ฟันกัดลูกมะขามป้อมให้พอมีน้ำซึมออก มา แล้วดูดลงคอไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด
      ท้องผูก
คนที่ท้องผูกประจำ ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ถ้าได้กินมะขามป้อมแล้วอาการท้องผูกจะหายไป
เนื่องจากมะขามป้อมมีรสฝาด จะทำให้กินยากไปสักหน่อย ควรปรุงรสให้อร่อย ด้วยการนำมะขามป้อมมาผ่าแคะเม็ดออก (กินแต่เนื้อ) ประมาณ ๑๐ ลูก ใส่พริก เกลือ น้ำตาล ตำพอแหลก กินต่างผลไม้ แต่ควรกินก่อนนอนหรือตอนตื่นนอนใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่าง
วิธีลดความฝาดของมะขามป้อม ก็คือแช่น้ำเกลือ มีขั้นตอนดังนี้
ล้างมะขามป้อมให้สะอาด ลวกด้วยน้ำร้อน และนำไปแช่ในน้ำเกลือที่เค็มจัด แช่ไว้สัก ๒ วัน รสฝาดก็จะลดลง ยิ่งแช่นานรสฝาดก็ยิ่งหมดไป
      ไข้ทับระดู
นำมะขามป้อมแห้งจำนวนเท่ากับอายุของผู้ป่วย ลูกสมอไทยแห้งจำนวนเท่า กับอายุของผู้ป่วย ใบมะกาแห้ง ๑ กำมือ เกลือนิดหน่อย ใส่น้ำท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๑๕ นาที ในวันแรกที่กินให้กินเว้นระยะห่างทุก ๔-๖ ชั่วโมง ครั้งละ ๑ แก้ว วัน ต่อมาให้กินวันละ ๒ ครั้งครั้งละ ๑ แก้ว เช้า-เย็น กิน ๓ วันหาย หลังจากกินยาไปแล้ว ๑๒ ชั่วโมงอาการจะดีขึ้น คืออาการปวดหัวเมื่อยตัว ปวดท้อง ทุเลาลง
      คันจากเชื้อรา
ใช้รากมะขามป้อมสับเป็นชิ้นเล็กๆ พอประมาณ ต้มให้เดือดนาน ๑๕ นาที นำมาทาบริเวณที่มีเชื้อรา วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น
หลังจากทาแล้วประ-มาณ ๒-๓ ชั่วโมงอาการคันจะค่อยๆ ลดลง และจะค่อยๆ หายไปภายใน ๑ สัปดาห์
      น้ำกัดเท้า-ฮังกล้า
น้ำกัดเท้า หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า "ฮังกล้า" เกิดจากการถอน ต้นกล้าแล้วเอารากกล้าฟาดตีกับข้อเท้าให้ดินโคลนหลุดออกจากรากกล้า ต่อมาเท้าเกิดโรคตุ่มคันขึ้น จะมีอาการคันมาก ยิ่งเกาก็ยิ่งแตกทั่วรอบข้อเท้า ภาคอีสานเป็นกันมาก บางคนก็เรียกว่า "เกลียดน้ำ" ให้ใช้เปลือก ต้นมะขามป้อมตำให้ละเอียด ผสมน้ำพอเปียกชะโลมให้ทั่ว รักษาได้
      ถ้าเกามากจนหนังถลอก น้ำเหลืองไหล ปวดแสบปวดร้อน คือโรคเป็นหนักแล้ว ให้เอาลูกมะขามป้อมแก่ๆ สดๆ มาใส่ในโพรงเหล็กผาลไถนา ใส่น้ำให้เต็มโพรงเหล็กผาลนั้น ตั้งไฟจนมะข้ามป้อมเละ และมีสีดำเหนียว เมื่อเอามาทาแล้วยาจะแห้งเข้าจนดำหมดทั้งหลังเท้าที่แตกเป็นน้ำเหลืองไหล แผลนั้นจะค่อยๆ หายไปจนเป็นปกติ
นอกจากนี้แล้วก่อนลงนาหรือหลังจากขึ้นมาจากนา ชาวนาสมัยก่อนนิยมนำเปลือกต้นมะขามป้อมมาแช่เท้าเพื่อฆ่าเชื้อโรคและความฝาด ของเปลือกมะขามป้อมยังช่วยตะกอนโปรตีนทำให้ผิวหนังของเท้าและข้อเท้าหนาขึ้น ทนทานต่อการเกิดน้ำกัดเท้ามากยิ่งขึ้น
      บิด
ถ่ายเป็นบิด ใช้เปลือกต้นมะขามป้อม ต้มใส่ข้าวเปลือกเจ้าดื่มต่างน้ำ
ตำราอินเดียบอกว่า ลูกมะขามป้อมใช้แก้ท้องเสียและบิดได้ดี ด้วย การนำมะขามป้อมสด ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓-๔ แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๑๐-๒๐ นาที ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว ทุกครั้งที่ถ่าย หรือดื่มทุก ๒-๔ ชั่วโมง
ใบมะขามป้อมมีสรรพคุณแก้บิดและท้องเสียได้เช่นกัน นำใบตำให้ละเอียด ดื่มครั้งละ ๑ ช้อนชา ทุก ๒-๔ ชั่วโมง
ถ้าจะให้ดื่มง่ายควรผสมน้ำผึ้งเพื่อให้มีรสชาติกลมกล่อม
      ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย
นำลูกมะขามป้อมแห้ง ๓-๕ ลูก แช่ในน้ำ ๑ แก้ว ตลอดคืน ตื่นเช้าดื่มทั้งน้ำและกินเนื้อทุกวันจนกว่าอาการจะหาย
มะขามป้อมยังแก้กระเพาะอาหารอักเสบและโรคกระเพาะอาหาร มีกรดมากเกินไปได้ด้วย
ใช้แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ให้กินผงลูกมะขามป้อมวันละ ๔ ครั้ง ครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา ก่อนอาหารและก่อนนอน
หลอดลมอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ ใช้รากแห้ง ๑๕-๓๐ กรัมต้มกับน้ำ ดื่มแทนน้ำอย่างน้อยวันละ ๓-๔ ครั้ง
      แก้น้ำเหลืองเสีย
คนที่มีน้ำเหลืองเสีย คือคน ที่เป็นแผลแล้วหายช้า แผลมีน้ำเหลืองไหลมาก หรือผิวหนังถูกอะไร นิดหน่อยก็คันแล้ว หรืออยู่ดีๆ คันทั่วตัว
ในคนที่มีน้ำเหลืองเสียควรกิน มะข้ามป้อม ๑ ลูก หลังอาหารเป็นประจำทุกวัน
      แก้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นคัน
ใช้ใบสด ปริมาณพอเหมาะ ต้มกับน้ำปริมาณหนึ่งเท่าตัว ใช้อาบหรือ ชะล้างส่วนที่เป็น ให้ทำบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องก็จะช่วยให้ผิวหนังดีขึ้น
      ขับพยาธิ
ใช้น้ำคั้นลูกมะขามป้อม ๑ ช้อนชา ผสมกับน้ำกะทิมะพร้าว ๑ ถ้วย ดื่มวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน ๑ สัปดาห์ ขับพยาธิตัวตืด และพยาธิปากขอ
      หิด ผื่นคัน
นำเมล็ดในลูกมะขามป้อม มาเผาจนเป็นถ่าน บดให้ละเอียด ผสมด้วยน้ำมันพืช พอให้ยาเหลว ข้น ทาวันละ ๒-๓ ครั้ง น้ำมันนี้ใช้ทาดับพิษน้ำร้อนลวก และใช้รักษาแผลได้ด้วย
      แก้ปวดฟัน
แก้ปวดฟัน ใช้ปมกิ่งก้านต้มกับน้ำ ใช้อมและบ้วนปาก บ่อยๆ จะบรรเทาอาการปวดฟัน