วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สะเดา : Neem plan



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica
ชื่ออื่น :  สะเลียม (ภาคเหนือ)  กะเดา (ภาคใต้)
     เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เจริญได้ดีในที่แล้ง ใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้งเป็นอาหารและสร้างที่อยู่อาศัย ในใบและเมล็ดสะเดามีสารอาซาดิเรซติน (Azadirachtin) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง ในเมล็ดมีน้ำมันที่เรียกว่า margosa oil ใช้เป็นสีย้อมผ้าและยาฆ่าพยาธิในสัตว์เลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด แต่ต้องรีบนำไปเพาะทันทีหลังจากเมล็ดร่วง มิฉะนั้น จะสูญเสียความสามารถในการงอกไปอย่างรวดเร็ว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
     ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี  
ส่วนที่ใช้ : 
     ดอกช่อดอก  ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด
สรรพคุณ :
     ดอก ยอดอ่อน  -  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
    ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
    เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
    ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
    กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
    ยาง - ดับพิษร้อน
    แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ
    ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
    ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
    ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

มะพร้าว (Coconut)



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cocos nucifera   L. var. nucifera

ชื่อสามัญ :   Coconut

วงศ์ :   Palmae

ชื่ออื่น :  ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5- ซม. ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส
เปลือกผล ผลแก่ปอกเปลือกตากแห้งเก็บไว้ใช้
กะลา - ตากแห้ง หรือเผาเป็นถ่าน บดเป็นผงเก็บไว้ใช้ โดยเผากะลาให้ลุกโชน เอากะลามัง หรือกระทะเหล็กครอบไม่ให้อากาศเข้าได้ จนไฟดับหมดแล้วปล่อยไว้ให้เย็น เปิดภาชนะเหล็กที่ครอบไว้ออก จะได้ถ่านจากกะลามะพร้าว นำไปบดเป็นผง เก็บไว้ในขวดปิดสนิท เก็บไว้ใช้ และที่ก้นภาชนะเหล็กมีน้ำมันเหนียวสีน้ำตาล ขูดเก็บไว้ใช้ เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ดี
เนื้อมะพร้าว - เนื้อมะพร้าว (ติดกับกะลา) มีสีขาว ใช้สด หรือหั่นฝอย ใส่น้ำเคี่ยว เอาน้ำมันมะพร้าวเก็บไว้ใช้ หรือตากแห้ง บีบและเคี่ยวเอาน้ำมันเก็บไว้ใช้ น้ำมันใหม่ๆ จะมีกลิ่นหอม น้ำมันมะพร้าวในที่อุ่นจะเหลวใส ในที่เย็นจะข้นขาวคล้ายเนยแข็ง มีกลิ่นเฉพาะตัว
น้ำ - น้ำมะพร้าว อ่อน และน้ำมะพร้าวแก่ใช้สด
ราก - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี
ดอก ใช้สด
เปลือกต้น - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี
สารสีน้ำตาล - ที่ออกมาย้อยแข็งอยู่ใต้ใบ เก็บไว้ใช้

สรรพคุณ :
เปลือกผล  - รสฝาดขม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
กะลา - แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก
ถ่านจากกะลา - รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ
น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา - ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน
เนื้อมะพร้าว - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ
น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว - ใช้ทาแก้กลาก และบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน และใช้ผสมทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำลายในยาฉีดได้
น้ำมะพร้าว - รสชุ่ม หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในยามจำเป็น น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน อาจใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดแก้ภาวการณ์เสียน้ำ
ราก - รสฝาด หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ
เปลือกต้น - เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน
สารสีน้ำตาล - ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
         
มะพร้าวเก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดเมื่อย และขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้ 
         
ใช้น้ำมะพร้าว มาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมานาน วิธีใช้ทำได้โดย การนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วย คนจนเข้ากันดี แล้วทาที่แผลบ่อยๆ

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

พริกไทย ( Black Pepper)




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Piper nigrum  L.

ชื่อสามัญ :   Black Pepper

วงศ์ :   Piperaceae

ชื่ออื่น :  พริกน้อย (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เลื้อยมีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ลำต้นมีข้อและป้องชัดเจน ใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่หรือรี ปลายใบแหลม โคนใบมนกลมหรือแหลมเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง 3.5 - 6 ซม. ยาว 7 - 10 ซม. เส้นใบที่บริเวณโคนใบมี 3 - 5 เส้น ดอกออกเป็นช่อและออกตรงข้ามกับใบ ช่อรูปก้านใบยาว 10 - 20 มม. ติดอยู่ตามแกนช่อดอกรองรับดอก รังไข่กลมปลายเกสรแยก 3 - 6 แฉก ช่อดอกตัวผู้มีดอกที่มีเกสรตัวผู้ 2 อัน ผลรวมกันบนช่อยาว 5 - 15 ซม. ผลรูปทรงกลมขนาด 4 - 5 ซม. แก่แล้วมีเมล็ดสีดำ ภายในมี 2 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เมล็ด ดอก

สรรพคุณ :
ใบ  -   แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ
ผล - ผลที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร
เมล็ด - ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ  อาหารไม่ย่อย
ดอก -  แก้ตาแดง ถนอมอาหารหลายชนิด เช่น มะม่วงดอง

วิธีและปริมาณที่ใช้ :  ใช้เมล็ด 0.5-1 กรัม ประมาณ 15-20 เมล็ด บดเป็นผง ชงรับประทาน 1 ครั้ง

สารเคมี :  มีน้ำมันหอมระเหย 2-4 % มีแอลคาลอยด์หลักคือ piperine 5-9% ซึ่งเป็นตัวทำให้มีความเผ็ด นอกจากนี้ยังพบ piperidine, pipercanine เป็นตัวทำให้มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ด (ซึ่งเดิมคิดว่าเป็น chavicine) พริกไทยอ่อนนั้นมีน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่า พริกไทยดำ และมีโปรตีน 11%  คาร์โบไฮเดรต 65%

มะนาว (Common lime)



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Citrus aurantifolia (Christm.)  Swingle

ชื่อสามัญ   Common lime

วงศ์ :   Rutaceae

ชื่ออื่น :  ส้มมะนาว มะลิว (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 
        ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามแหลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลปนเทา ใบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่หรือรูปรียาว กว้าง 3-5 ซม. ยาว4-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนมีปีกแคบๆ ขอบใบหยัก แผ่นใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ตามผิวใบ ดอก ออกเป็นช่อสั้น 5-7 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 4-5 กลีบ หลุดร่วงง่าย ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม พอแก่เป็นสีเหลือง ข้างในแบ่งเป็นห้องแบบรัศมี มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มี 10-15 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  น้ำมะนาว (น้ำคั้นจากผล)  ราก  ใบ  ดอก  ผล  เมล็ด
สรรพคุณ :
น้ำมะนาว  - แก้โรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน) ทำอาหาร ขับเสมหะ ฟอกโลหิต ทำให้ผิวนุ่มนวล แก้ซาง บำรุงเสียง บำรุงโลหิต ขับระดู แก้เล็บขบ แก้ขาลาย จิบแก้ไอ ดับกลิ่นเหล้า ฆ่าพยาธิในท้อง รักษาผม ขับลม รักษาลมพิษ แก้ริดสีดวง แก้ระดูขาว แก้พิษยางน่อง แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
ราก - กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ ถอนพิษไข้ กลับไข้ซ้ำ
ใบ - ฟอกโลหิต แก้ตับทรุด
ดอก - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ ) แก้ไอ ขับเสมหะ
ผล - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง ทาแก้ผิวแห้งตกสะเก็ด แก้สิวฝ้า แก้ส้นเท้าแตก แก้ไอ รักษาแผลจากแมลงมีพิษ
เมล็ด - แก้พิษตานซาง แก้หายใจขัด แก้ไข้ขับเสมหะ แก้พิษฝีภายใน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ยาแก้ไอขับเสมหะ
น้ำในผลที่โตเต็มที่ น้ำมะนาว 2-3 ช้อนแกง
, เมล็ดมะนาว 10-20 เมล็ด  นำน้ำมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย จิบ จะช่วยทำให้เสมหะถูกขับออก และเสียงดี ถ้าเป็นเมล็ดมะนาวนำไปคั่วให้เหลือง บดให้ละเอียด เติมพิมเสน 2-5 เกล็ด ชงน้ำร้อนรับประทาน เป็นยาขับเสมหะ
ยาป้องกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด)
ใช้น้ำจากผลที่แก่จัดไม่จำกัด เติมเกลือ น้ำตาล น้ำแข็ง ใช้เป็นเครื่องดื่ม หรือจะใส่ในอาหาร ก็ได้ผลเช่นกัน
ยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้น้ำจากผล ครึ่งช้อนชา หรือ 1/4 ช้อนแกง แผลถูกมีดบาด เลือดไม่หยุด บีบน้ำมะนาวลงไป 3-4 หยด เลือดจะหยุด
สารเคมี :
          ใบ  มี Alcohols, Aldehydes, Elements, Terpenoids, Citral
          ผล  มี  1 - Alanine, 
γ
- Amino butyric acid, 1 - Glutamic acid
          เมล็ด มี  Glyceride Oil
          น้ำมันหอมระเหย   มี  P - Dimethyl - a - Styrene, Terpinolene