แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย ขิง (Zingiber officinale Roscoe)



ชื่อวิทยาศาสตร์  
     Zingiber officinale  Roscoe

ชื่อสามัญ :   
     Ginger

วงศ์  
     Zingiberaceae

ชื่ออื่น :  
     ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  
     ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวล มีกลิ่นเฉพาะ จะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน  ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ใบประดับเรียงเวียนสลับสีเขียวอ่อน ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผล เป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. เป็น 3 พู เมล็ดหลายเมล็ด
 
ส่วนที่ใช้ : 
     เหง้าแก่สด  ต้น  ใบ  ดอก  ผล 

สรรพคุณ :
     เหง้าแก่สด 
- ยาแก้อาเจียน
- ยาขมเจริญอาหาร
- ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
- แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
- สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี
- มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร
- แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก
- ลดความดันโลหิต
ต้น - ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน
ใบ - แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา  ขับลมในลำไส้
ดอก - ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ  แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด
ผล - แก้ไข้

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
     ยาแก้อาเจียน
ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม
นำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม
     ยาขมเจริญอาหาร
ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัม
ผงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ
แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง
- น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
- ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย
- ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ
- ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม
     แก้ไอและขับเสมหะ
ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
     ลดความดันโลหิต
ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน

สารเคมี :
     เหง้า พบ  Gingerol Zingiberene, Zingiberone Zingiberonol, Shogoal, Fenchone, Camphene Cineol Citronellol
     ใน น้ำมันหอมระเหย พบสาร Bisabolene, Zingiberone Zingiberol, Zingiberene, Limonene, Citronellol Gingerol, Camphene, Borneol, Cineol
      ทั้งต้น พบ 5 - (1) - 6 - Gingerol
        ใบ  พบ Shikimic acid

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร :
      ขิงที่นำมาประกอบอาหารมีหลายรูปแบบคือ ขิงสด ขิงดอง ขิงแห้ง ขิงผง รวมทั้งน้ำขิงที่เป็นเครื่องดื่ม ขิงเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น ใช้โรยหน้าปลานึ่ง โรยหน้าโจ๊กหรือผสมในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ต้มส้มปลา แกงฮังเล ยำกุ้งแห้ง ขิงยำ เป็นเครื่องเคียงของเมี่ยงคำ หรือทำเป็นขนมหวาน เช่น บัวลอยไข่หวาน มันเทศต้ม เป็นต้น นอกจากนี้ขิงดองยังเป็นอาจาดในอาหารอีกหลายชนิด เช่น ข้าวหน้าเป็ด หรืออาหารญี่ปุ่น รวมทั้งยังเป็นส่วนผสมในการแต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด เช่น คุกกี้ พาย เค้ก พุดดิ้ง ผงกะหรี่ เป็นต้น ในประเทศแถบตะวันตกนำขิงไปทำเป็นเบียร์ คือ เบียร์ขิง (Ginger beer)

Tips :
      1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้า มาทุบพอแตกต้มกับน้ำ
      2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด
      3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
      4. รักษาอาการปวดประจำเดือน ในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแก่แห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่มบ่อยๆ
      5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
      6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ เป็นหนอง
      7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียด คั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณฟันที่ปวด

ข้อสังเกต / ข้อควรระวัง :
      1. ขิงแก่มีสรรพคุณในทางยาและมีรสเผ็ดร้อนมากกว่าขิงอ่อน
      2. ขิงแก่มีเส้นใยมากกว่าขิงอ่อน
      3. ในเหง้าขิงมีเอนไซม์บางชนิดที่สามารถย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อยได้
      4. สารจำพวกฟีนอลิค (Phenolic compound) ในขิงสามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย ทองกวาว (Flame of the forest.)



ชื่ออื่น ๆ :
     จอมทอง (ภาคเหนือ), ทองกวาวต้น (ภาคกลาง), กวาวก้าว (พายัพ) ทองพรมชาติ, ทองธรรมชาติ, จาน(ภาคอีสาน), ทองต้น (ราชบุรี), จ้า (เขมร)

ชื่อสามัญ :
     Flame of the forest.

ชื่อวิทยาศาสตร์ :
     Butea monosperma O. Ktze.

วงศ์ :
     LEGUMINOSAE

ลักษณะทั่วไป :
     ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีทั้งขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 6-12 เมตร
ลักษณะของเปลือกลำต้นเป็นปมเป็นปุ่ม ไม่เรียบเกลี้ยง ผิวมีสีน้ำตาลหม่น ๆ
     ใบ : ใบเป็นสีเขียว พื้นผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ใบออกเป็นก้านยาว ก้านหนึ่งมี ใบย่อยอยู่ 3 ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ใบกว้างราว 2.5-9 นิ้ว ยาวราว3.4-10.5 นิ้วลักษณะคล้ายกับใบทองหลางใบมน
     ดอก : ดอกออกเป็นช่อ รูปลักษณะของดอกคล้ายกับดอกทองหลาง ดอกเป็นสีแดง ขนาดใหญ่
     ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักแข็ง เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลอ่อนภายในฝักมีเมล็ด ขนาดเล็ก เป็นสีน้ำตาลแก่

การขยายพันธุ์ : 
     เป็นพรรณไม้ที่เกิดขึ้นเองตามพื้นที่ลุ่มต่ำ หรือตามป่าราบ

ส่วนที่ใช้ :
     ใบ ดอก ฝัก เมล็ด ราก

สรรพคุณ :
     ใบ ใช้ใบสดนำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ปวด ขับพยาธิ ถอนพิษ แก้ท้องขึ้น แก้ริดสีดวงทวาร นำใบสดมาตำให้ละเอียดใช้พอกสิว และฝีเป็นต้น
     ดอก ใช้ดอกสดมาต้มเอาน้ำรับประทานเป็นยา แก้ถอนพิษไข้ ช่วยขับปัสสาวะ หรือนำเอาน้ำมาผสมกับยาหยอดตาแก้โรคตามัว หรือเจ็บตา เป็นต้น ฝัก นำมาต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาขับถ่ายพยาธิ
     เมล็ด นำเมล็ดมาตำให้ละเอียดแล้วใช้ผสมกับน้ำมะนาว ใช้บริเวณที่เป็นผื่นคัน หรือเป็นแผลอักเสบเนื่องจากเป็นโรคผิวหนัง หรือนำเมล็ดมาต้มใช้น้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน เป็นต้น
     ราก นำรากสดมาต้ม ใช้น้ำรับประทาน เป็นยาแก้โรคประสาททุกชนิด และใช้เป็นยาบำรุงธาตุอีกด้วย

ถิ่นที่อยู่ :
     ทองกวาว เป็นพรรณไม้ที่มีมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสาน ของประเทศไทย

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย แห้วหมู (Cyperus rotundus Linn.)



ชื่อวิทยาศาสตร์ :  
     Cyperus rotundus Linn.

วงศ์ :  
     Cyperaceae

ชื่อท้องถิ่น :
     หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน)แห้วหมูเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีหัวอยู่ใต้ดิน มีก้านดอกยาว
และดอกเป็นสีน้ำตาล

การปลูก :
     แห้วหมูเป็นหญ้าที่พบเห็นโดยทั่วไป ปลูกโดยการใช้หัวหรือการไหลก็ได้เป็นวัชพืชที่ไม่ส่งเสริมให้มีการปลูก 

ส่วนที่ใช้เป็นยา :
     หัว  ช่วงเวลาที่เก็บยา เก็บหัวแก่

สรรพคุณ :
     รสเผ็ดขมเล็กน้อย ใช้ขับลม 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :
     หัวหญ้าแห้วหมูเป็นน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)
มีสารประกอบทางเคมีหลายชนิด จากรายงานพบว่ามีฤทธิ์ คลายอาการ เกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และสารสกัดจากแอลกอฮอล์จากรากแห้วหมู
ทำให้มีการขับปัสสาวะมากขึ้น จากการที่มีน้ำมันหอมระเหยและลดการเกร็ง
ตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียดได้ดี
กองวิจัยการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน

วิธีใช้ :
     หัวหญ้าแห้วหมู ใช้เป็นยาแก้ท้องอืด
ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด โดยใช้หัวหญ้าแห้วหมู 1 กำมือ
(60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือใช้หัวสดครั้งละ
5 หัว โขลกให้แหลกผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก็ได้ ความจริงไม่ต้องปลูกหญ้าแห้วหมูเลย
สามารถพบเห็นเสมอตามข้างถนนหนทางและ ตามพื้นที่ราบทั่วไป มีหญ้าแห้วหมูขึ้นอยู่เสมอ
หาได้ง่ายมาก

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรไทย โหระพา (Sweet Basil)


ชื่อสามัญ :   
     Sweet Basil
วงศ์ :   
Labiatae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
      เป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็ก มีลักษณะหรือลักษณะพิเศษของโหระพาดังนี้ เป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู มีลักษณะลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมและเป็นพุ่ม ลำต้นจะแตกแขนงได้มากมาย กิ่งก้านมีสีม่วงแดง มีขนอ่อนๆ ที่ผิวลำต้น ใบมีรูปร่างแบบรูปไข่ปกติจะยาวไม่เกิน ๒ นิ้ว ใบจะเรียงตัวแบบตรงกันข้ามกัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวอมม่วงและมีก้านใบยาว ดอกโหระพา ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วงจะออกเป็นช่อคล้ายฉัตรที่ยอด ดอกมีทั้งสีม่วง แดงอ่อน และสีขาว ในแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้ ๔ อัน รังไข่แต่ละอันจะมีสีม่วง เมล็ดมีสีดำมีกลิ่นหอมทั้งต้น
ส่วนที่ใช้ :
     ทั้งต้น เมล็ด และราก
ทั้งต้น - เก็บเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ขณะเจริญเต็มที่ มีดอกและผลล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตาแห้งเก็บไว้ใช้

เมล็ด - นำต้นไปเคาะ แยกเอาเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ระวังไม่ให้ถูกน้ำเพราะจะจับกันเป็นก้อน)
ราก - ใช้รากสด หรือตากแห้ง เก็บไว้ใช้
สรรพคุณ :
     ทั้งต้น 
- รสฉุน สุขุม ขับลม ทำให้เจริญอาหาร
- แก้
ปวดหัว หวัด ปวดกระเพาะอาหาร- จุกเสียดแน่น ท้องเสีย
-
 
ประจำเดือนผิดปกติ
- ฟก
ช้ำจากหกล้ม หรือกระทบกระแทก งูกัด
-
  ผดผื่นคัน มีน้ำเหลือง
     เมล็ด
- รส
ชุ่ม เย็น สุขุม ถูกน้ำจะพองตัวเป็นเมือก
- ใช้แก้ตาแดง มีขี้ตามาก ต้อตา
- ใช้เป็นยา
ระบาย (ใช้เมล็ด 4-12 กรัม แช่น้ำเย็นจนพอง ผสมน้ำหวาน เติมน้ำแข็งรับประทาน)
   ราก - แก้เด็กเป็นแผล มีหนองเรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
      ทั้งต้น - แห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้สดคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง หรือเผาเป็นเถ้า บดเป็นผง ผสมทา
      เมล็ด - แห้ง 2.5-5 กรัม ต้มน้ำหรือแช่น้ำดื่ม ใช้ภายนอก บดเป็นผงแต้มทา
      ราก - เผา เป็นเถ้าพอก
       ใบ
- ใช้ใบคั้นเอาน้ำ 2-4 กรัม ผสมน้ำผึ้ง จิบแก้ไอและหลอดลมอักเสบ
- ใช้สำลีก้อนเล็กๆ ชุบน้ำคั้นจากใบอุดโพรงฟันที่ปวด แก้ปวดฟัน
สารเคมี:
     น้ำมันหอมระเหยจากใบ ประกอบด้วย Ocimine, alpha-pinene, 1,8- cineole, eucalyptol ,linalool, geraniol,limonene, eugenol, methyl chavicol, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragol