ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Cyperus rotundus Linn.
วงศ์ :
Cyperaceae
ชื่อท้องถิ่น :
ชื่อท้องถิ่น :
หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน)แห้วหมูเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีหัวอยู่ใต้ดิน มีก้านดอกยาว
และดอกเป็นสีน้ำตาล
และดอกเป็นสีน้ำตาล
การปลูก :
แห้วหมูเป็นหญ้าที่พบเห็นโดยทั่วไป ปลูกโดยการใช้หัวหรือการไหลก็ได้เป็นวัชพืชที่ไม่ส่งเสริมให้มีการปลูก
ส่วนที่ใช้เป็นยา :
หัว ช่วงเวลาที่เก็บยา เก็บหัวแก่
สรรพคุณ :
รสเผ็ดขมเล็กน้อย ใช้ขับลม
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :
หัวหญ้าแห้วหมูเป็นน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)
มีสารประกอบทางเคมีหลายชนิด จากรายงานพบว่ามีฤทธิ์ คลายอาการ เกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และสารสกัดจากแอลกอฮอล์จากรากแห้วหมู
ทำให้มีการขับปัสสาวะมากขึ้น จากการที่มีน้ำมันหอมระเหยและลดการเกร็ง
ตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียดได้ดี
กองวิจัยการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน
มีสารประกอบทางเคมีหลายชนิด จากรายงานพบว่ามีฤทธิ์ คลายอาการ เกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และสารสกัดจากแอลกอฮอล์จากรากแห้วหมู
ทำให้มีการขับปัสสาวะมากขึ้น จากการที่มีน้ำมันหอมระเหยและลดการเกร็ง
ตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียดได้ดี
กองวิจัยการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน
วิธีใช้ :
หัวหญ้าแห้วหมู ใช้เป็นยาแก้ท้องอืด
ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด โดยใช้หัวหญ้าแห้วหมู 1 กำมือ
(60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือใช้หัวสดครั้งละ
5 หัว โขลกให้แหลกผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก็ได้ ความจริงไม่ต้องปลูกหญ้าแห้วหมูเลย
สามารถพบเห็นเสมอตามข้างถนนหนทางและ ตามพื้นที่ราบทั่วไป มีหญ้าแห้วหมูขึ้นอยู่เสมอ
หาได้ง่ายมาก
ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด โดยใช้หัวหญ้าแห้วหมู 1 กำมือ
(60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือใช้หัวสดครั้งละ
5 หัว โขลกให้แหลกผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก็ได้ ความจริงไม่ต้องปลูกหญ้าแห้วหมูเลย
สามารถพบเห็นเสมอตามข้างถนนหนทางและ ตามพื้นที่ราบทั่วไป มีหญ้าแห้วหมูขึ้นอยู่เสมอ
หาได้ง่ายมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น