ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb.
ชื่อสามัญ :
Bael
วงศ์ :
Rutaceae
ชื่ออื่น :
มะปิน (ภาคเหนือ) กระทันตาเถร ตุ่มเต้ง ตูม (ปัตตานี) มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูง 10 - 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบปลาย รูปไข่ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-14 ซม. ปลายใบแหลม แผ่นใบบางเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบย่อยใบปลายจะยาวกว่าใบที่คู่กัน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กลับยาว ด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวนวล มีน้ำเมือก มีกลิ่นหอม ผล รูปรีกลมหรือยาว ผิวเรียบเกลี้ยง เปลือกหนา แข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อในสีส้มปนเหลือง นิ่ม เมล็ดมีจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :
ผลโตเต็มที่ ผลแก่จัด ผลสุก ผลอ่อน ใบ ราก
สรรพคุณ :
ผลโตเต็มที่ - ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงรับประทาน แก้ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก
ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก - น้ำมาเชื่อมรับประทานต่างขนมหวาน จะมีกลิ่นหอม และรสชวนรับประทาน บำรุงกำลัง รักษาธาตุ ขับลม
ผลสุก - รับประทานต่างผลไม้ เป็นยาระบายท้อง และยาประจำธาตุของผู้สูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำ
ใบ - ใส่แกงบวช เพื่อแต่งกลิ่น
ราก - แก้หืด หอบ แก้ไอ แก้ไข้ ขับลม แก้มุตกิต
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้ผลโตเต็มที่ ฝานตากแห้ง คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่ม ใช้ 2-3 ชิ้น ชงน้ำเดือดความแรง 1 ใน 10 ดื่มแทนน้ำชา หรือชงด้วยน้ำเดือด 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
ใช้ผลโตเต็มที่ ฝานตากแห้ง คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่ม ใช้ 2-3 ชิ้น ชงน้ำเดือดความแรง 1 ใน 10 ดื่มแทนน้ำชา หรือชงด้วยน้ำเดือด 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
สารเคมี :
ผลมะตูม ประกอบด้วยสารที่มีลักษณะเป็นเมือก คือ mucilage, pectin, tannin, volatile oil และสารที่มีรสขม
ใบ มี aegeline (steroidal alkaloid) aeglenine, coumarin
ผลมะตูม ประกอบด้วยสารที่มีลักษณะเป็นเมือก คือ mucilage, pectin, tannin, volatile oil และสารที่มีรสขม
ใบ มี aegeline (steroidal alkaloid) aeglenine, coumarin
ให้ประโยชน์ดีมาก ขอให้รวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลด้านสมุนไพรที่ยั่งยืนสืบไป
ตอบลบ