ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Garcinia schomburgkiana Pierre.
วงศ์ :
Clusiaceae (Guttiferae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูง 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 ซม. ยาว 9 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบลื่น สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.5-1 ศทซ ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก 3-6 ดอก ตามซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายกลีบดอกมน ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 10-12 อัน ผล รูปรีปลายแหลม ผิวเรียบสีเขียว เป็นมันลื่น มีรสเปรี้ยว เมล็ดมี 3-4 เมล็ด ติดกัน
ส่วนที่ใช้ :
ใบ ราก ผล
สรรพคุณ :
ผล – ดองน้ำเกลือกิน แก้น้ำลายเหนียว เป็นเมือกในคอ
ผล – ดองน้ำเกลือกิน แก้น้ำลายเหนียว เป็นเมือกในคอ
ใบและราก
- เป็นยาดอกเปรี้ยวเค็ม และปรุงเป็นยาต้ม รับประทานแก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต แก้ประจำเดือนผิดปกติ ยาแก้ไอ ฟอกเสมหะ
- เป็นยาระบายอ่อนๆ
- เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี
- เป็นยาดอกเปรี้ยวเค็ม และปรุงเป็นยาต้ม รับประทานแก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต แก้ประจำเดือนผิดปกติ ยาแก้ไอ ฟอกเสมหะ
- เป็นยาระบายอ่อนๆ
- เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี
ผล
- เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี
- เป็นอาหาร
- เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี
- เป็นอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น