ชื่อ ชะมวง
ชื่ออื่น ส้มม่วง หวากโมก มวง กะมวง ตระมูง ส้มงวง ส้มโมง มวงส้ม กานิ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia
cowa Roxb.
วงศ์ GUTTIFERAE
ชื่อสามัญ Cowa
แหล่งที่พบ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 4 – 10 เมตร
แตกกิ่งสาขาของลำต้นเปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม
ใบ
ใบเดียวขอบใบเรียบ ใบหนายาวสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมม่วงแดง ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน
บริเวณปลายกิ่งมักแตกเป็น1 – 3 ยอด
ตัวใบค่อนข้างหนาและด้านสีขาวกว้าง 1.2 – 1.9 ซม.
ตัวใบยาว 18 – 20 ซม. ขอบใบเรียบมีกลิ่นเล็กน้อย
ไม้ผลัดใบ
ดอก
ดอกสีขาวนวลมี 3 กลีบ มีขนาดเล็กกลีบแข็งสีนวลเหลืองมีกลิ่นหอม
ออกจำนวนมาก ขนาด 1 – 1.5 ซม. ดอกออกตามกิ่ง
ผล
ผลทรงกลมข้างผลเว้าเป็นพู เมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม ผลมีเนื้อหนาสีเหลืองรสฝาด
และมีเมล็ดอยู่ภายใน จำนวน 4 – 6 เมล็ด
ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อนใบอ่อน
การขยายพันธุ์ เมล็ด ตอนกิ่ง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ป่าโคก ป่าโปร่ง
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ เดือน พฤษภาคม
คุณค่าทางอาหาร ในส่วนใบชะมวงที่รับประทานได้ 100 กรัม
มีองค์ประกอบทางโภชนาการดังนี้
Cal 52 Unit
Moist ure 84.1 %
Protein 1.9 Gm.
Fat 0.6 Gm.
CHO 9.6 Gm.
Fibre 3.2 Gm.
Ash . 0.6 Gm
Ca 27 mg.
P 13 mg.
Fe 1.1 mg.
A.I.U 7333
B1 0.7 mg.
B2 0.04 mg.
Niacin 0.2 mg.
C 29 mg.
การปรุงอาหาร ยอดอ่อนใบอ่อน
รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว นำไปปรุงอาหาร เช่น แกงกับหมู ต้มส้ม
ลักษณะพิเศษ ยอดอ่อนใบอ่อน มีรสเปรี้ยวช่วยระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ
ข้อควรระวัง -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น