วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย ทองกวาว (Flame of the forest.)



ชื่ออื่น ๆ :
     จอมทอง (ภาคเหนือ), ทองกวาวต้น (ภาคกลาง), กวาวก้าว (พายัพ) ทองพรมชาติ, ทองธรรมชาติ, จาน(ภาคอีสาน), ทองต้น (ราชบุรี), จ้า (เขมร)

ชื่อสามัญ :
     Flame of the forest.

ชื่อวิทยาศาสตร์ :
     Butea monosperma O. Ktze.

วงศ์ :
     LEGUMINOSAE

ลักษณะทั่วไป :
     ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีทั้งขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 6-12 เมตร
ลักษณะของเปลือกลำต้นเป็นปมเป็นปุ่ม ไม่เรียบเกลี้ยง ผิวมีสีน้ำตาลหม่น ๆ
     ใบ : ใบเป็นสีเขียว พื้นผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ใบออกเป็นก้านยาว ก้านหนึ่งมี ใบย่อยอยู่ 3 ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ใบกว้างราว 2.5-9 นิ้ว ยาวราว3.4-10.5 นิ้วลักษณะคล้ายกับใบทองหลางใบมน
     ดอก : ดอกออกเป็นช่อ รูปลักษณะของดอกคล้ายกับดอกทองหลาง ดอกเป็นสีแดง ขนาดใหญ่
     ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักแข็ง เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลอ่อนภายในฝักมีเมล็ด ขนาดเล็ก เป็นสีน้ำตาลแก่

การขยายพันธุ์ : 
     เป็นพรรณไม้ที่เกิดขึ้นเองตามพื้นที่ลุ่มต่ำ หรือตามป่าราบ

ส่วนที่ใช้ :
     ใบ ดอก ฝัก เมล็ด ราก

สรรพคุณ :
     ใบ ใช้ใบสดนำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ปวด ขับพยาธิ ถอนพิษ แก้ท้องขึ้น แก้ริดสีดวงทวาร นำใบสดมาตำให้ละเอียดใช้พอกสิว และฝีเป็นต้น
     ดอก ใช้ดอกสดมาต้มเอาน้ำรับประทานเป็นยา แก้ถอนพิษไข้ ช่วยขับปัสสาวะ หรือนำเอาน้ำมาผสมกับยาหยอดตาแก้โรคตามัว หรือเจ็บตา เป็นต้น ฝัก นำมาต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาขับถ่ายพยาธิ
     เมล็ด นำเมล็ดมาตำให้ละเอียดแล้วใช้ผสมกับน้ำมะนาว ใช้บริเวณที่เป็นผื่นคัน หรือเป็นแผลอักเสบเนื่องจากเป็นโรคผิวหนัง หรือนำเมล็ดมาต้มใช้น้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน เป็นต้น
     ราก นำรากสดมาต้ม ใช้น้ำรับประทาน เป็นยาแก้โรคประสาททุกชนิด และใช้เป็นยาบำรุงธาตุอีกด้วย

ถิ่นที่อยู่ :
     ทองกวาว เป็นพรรณไม้ที่มีมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสาน ของประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น