วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรไทย เตยหอม (Pandanus amaryllifolius Roxb)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   
     Pandanus amaryllifolius  Roxb.
ชื่อสามัญ :   
     Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
วงศ์ :   
     Pandanaceae
ชื่ออื่น :  
     ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
     เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ : 
     ต้นและราก, ใบสด
สรรพคุณ :
     ต้นและราก 
     -
  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
     ใบสด
     -
 
ตำพอกโรคผิวหนัง
     -
 
รักษาโรคหืด
     -
  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 

     -
  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
     ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
     ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
     ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน
ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น
สารเคมี :
     สารกลุ่ม anthocyanin

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น