ชื่ออังกฤษ :
TURMERIC
ชื่อท้องถิ่น :
TURMERIC, ขมิ้น, ขมิ้นแกง, ขมิ้นชัน, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว, ขี้มิ้น, ตายอ,สะยอ, หมิ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Curcuma longa Linn. ,Curcuma domestica Valeton.
วงศ์ :
ZINGIBERACEAE
ลักษณะ :
ขมิ้นมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ประเทศอินเดีย จีน และหมู่เกาะ อินเดียตะวันออกปัจจุบันมีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ อย่างแพร่หลายในประเทศเขตร้อน ขมิ้นเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน อายุหลายปีถึงฤดูแล้งใบจะโทรม เมื่อย่างเข้าฤดูฝนเริ่มแตกใบขึ้นมาใหม่เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านยาว ใบเหนียว เรียวและปลายแหลม กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกเป็นดอกช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน กลีบประดับสีเขียวอมชมพู ดอกบานครั้งละ 3-4 ดอก ผลรูปกลมมีพู
สรรพคุณสมุนไพร :
1. ยาแก้กลากเกลื้อน เอาผงขมิ้นผสมกับน้ำฝนคนให้เข้ากันดี แล้วทาบริเวณ ที่เป็นเช้า-เย็น
2. แก้พิษยุงกัด ขูดเอาเนื้อขมิ้นทาบริเวณที่ยุงกัดจะทำให้หายคัน และตุ่มจะ ยุบหายไป หรือเอาผงขมิ้นละลายน้ำทาตรงที่เป็น
3. แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอ่อนแอ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ให้เอาผงขมิ้นผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานวันละ 3 เวลา
4. แก้ท้องร่วง แก้บิด ใช้แง่งขมิ้นขนาดพอควร ล้างสะอาด นำมาตำให้ ละเอียดคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำต้มสุกอีกหนึ่งเท่าตัว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง อาจเติมเกลือเล็กน้อยให้รับประทานง่ายหรืออีก วิธีหนึ่งให้นำหัวขมิ้นชันเผาไฟและโขลกให้ละเอียด คั้นกับน้ำปูนใสรับ ประทาน ครั้งละ 1-2 ถ้วยชา
5. รักษาแผลสด นำผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวไฟอ่อนจนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง แล้วนำไปใส่แผล หรืออีกวิธีหนึ่ง ให้นำขมิ้นผสมกับน้ำปูนใสเล็กน้อยและผสมสารส้มหรือดิน ประสิวพอกบริเวณที่เป็นแผลหรืออาจใช้แก้เคล็ดขัดยอกก็ได้
ข้อห้าม/ข้อควรระวัง :
- ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน ผู้ที่ไวต่อยานี้
- ผู้ที่เป็นโรคนิ่วควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
- ควรระวังการรับประทานยาในสตรีมีครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของ แพทย์
อาการอันไม่พึงประสงค์ :
ผิวหนังอักเสบ ผื่น จากการแพ้
แหล่งที่มา :
โรงพยาบาลอภัยภูเบศร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น