ชื่ออื่น ๆ :
ประดงข้อ, ปานนุ, พิษพญาไฟ, บีกผัวะ
ชื่อสามัญ :
ชื่อสามัญ :
long pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Piper retrofractum Vahl
วงศ์ :
วงศ์ :
PIPERACEAE
ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย ลำเถาจะเป็นข้อสั้น ๆ และมีรากติดอยู่ทุกข้อ เอาไว้เกาะยึดกำแพง หรือพาดพันต้นไม้ใหญ่ ๆ มีสีเขียว
ใบ : ออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อเถา ลักษณะของใบมนรีปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก มีสีเขียว
ดอก : ลักษณะของดอกคล้ายคลึงกับดอกชะพลู แต่จะยาวกว่าแตกดอกออกตรงส่วนยอดของ เถา หรือตามง่ามใบ ดอกกลมยาวประมาณ 1 นิ้ว เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว พอแก่กลายเป็นสีส้ม
การขยายพันธุ์ :
จะเกิดขึ้นเองตามสถานที่ ๆ มีหินหรืออิฐปูนเก่า ๆ ผุ ๆ ทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ
ส่วนที่ใช้ :
เถา ดอก ใบ และราก
สรรพคุณ :
เถา เนื่องจากมีรสเผ็ดร้อนเหมือนเม็ดพริก แพทย์ตามชนบท จึงนำมาทำเป็นยาแก้ปวดฟัน แก้ปวดท้องจุกเสียด แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้ลม แก้คุดทะราด หรือเจริญอาหารอย่างพริกชี้ฟ้า
ดอก ดอกดีปลีมีรสเผ็ดร้อนและขม นำมาปรุงเป็นยาธาตุแก้ตับพิการ แก้ท้องร่วง ขับลงในลำไส้
ใบ แก้เส้นอัษฎา และเส้นสุมนา (เส้นศูนย์กลางท้อง)
ราก แก้เส้นอัมพฤกษ์และอัมพาต ดับพิษปัสสฆาต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น