ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Kaempferia pafiflora
ชื่อวงศ์ :
ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน รากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นปุ่ม ๆ ไม่ยาวเป็นหางไหลเหมือนกับกระชายธรรมดา ขณะต้นเล็ก จะมีแต่รากและรากนั้นเองจะเปลี่ยนเป็นหัวเมื่อโตขึ้น เนื้อในหัวอาจเป็นสีม่วงหม่น หรือสีดำดังผลลูกหว้าขึ้นอยู่กับดินที่ใช้ แต่ถือกันว่ากระชายดำที่มีคุณสมบัติที่ดีต้องสีดำสนิท
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับคล้ายกระชายธรรมดา แต่มีใบใหญ่และเขียวเข้มกว่า ผลิแทงม้วนเป็นกรวยขึ้นมาจากรากไม่มีต้น
ดอก จะออกดอกจากยอดของต้น ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ริมปากดอกสีขาว เส้นเกสรสีม่วง และเกสรมีสีเหลือง
การขยายพันธุ์ :
ใช้วิธีการแบ่งเหง้า ฤดูกาลขยายพันธุ์ ทำได้ทั้งปี แต่ถ้าต้องการผลิตหัวให้มีคุณภาพ ต้องปลูกขยายพันธุ์ตามฤดูกาล ช่วงประมาณ เดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม และ ช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณ เดือน ธันวาคม ถึง มกราคม กระชายดำ ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น
กระชายดำ หรือ โสมไทย เป็นพืชสมุนไพรที่มีการตื่นตัวในเรื่องการบริโภคมาก ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากว่ามีสรรพคุณที่เชื่อกันว่าเป็นยาสมุนไพรอายุวัฒนะชั้นหนึ่งของไทย มาแต่โบราณกาลและสามารถเพิ่มพลังทางเพศให้กับผู้รับประทานได้ซึ่งชายไทยที่ เคยบริโภคต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เด็ดจริงๆ" กระชายดำ ยังเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญประจำเผ่าม้งและมักพกติดตัวไว้ในย่ามแทบทุกคน เพื่อใช้กินแก้ปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ หืดหอบ ที่สำคัญเชื่อว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นความลับประจำเผ่ามาหลายร้อยปี
ประวัติ การปลูกกระชายดำที่จังหวัดเลย นั้น สายพันธุ์ ต้นกำเนิดมาจาก ชาวเขาเผ่าม้ง ที่มาตั้ง ถิ่นฐาน ตรงบริเวณรอยต่อ ระหว่าง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก - อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย และรอยต่อกับ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สมุนไพรกระชายดำ นี้ ชาวเขาเผ่าม้งหวงแหนมาก เพราะตระหนักดีในเรื่องของสรรพคุณ เพื่อไม่ให้กระชายดำแพร่พันธุ์มาก เวลานำมาขายให้คนไทยพื้นราบ จะนำไปนึ่งให้หัวกระชายดำตายเสียก่อน เมื่อนำมาปลูก จึงไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ต่อมา คนไทยพื้นราบ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ติดต่อค้าขายกับชาวเขาเผ่าม้ง จึงได้แอบนำติดตัวและมาปลูกขยายพันธุ์ ปัจจุบัน ที่อำเภอนาแห้วเป็นแหล่งปลูกกระชายดำ แหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ
สรรพคุณ :
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นระบบประสาท แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุลย์ โรคบิด โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด โรคหัวใจ สำหรับสุภาพสตรีทานแล้ว จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทางเพศ ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใส แก้อาการตกขาว ประจำเดือนมาไม่ปกติ
" กระชายดำ " เพราะว่ามีสรรพคุณขึ้นชื่อลือชาในเรื่องเพิ่มพลังทางเพศ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า " โสมไทย "
ซึ่งที่จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดมักนิยมแนะนำให้เกษตรกรเพาะปลูกเพราะเป็นพืชที่มีอนาคต และราคาดี
ข้อมูลทั่วไป :
กระชายดำ มีลักษณะเหง้าหรือหัวคล้ายกับกระชายธรรมดาที่ใช้ปรุงอาหารอยู่ในครัวเรือน แต่ไม่มีรากขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "นิ้ว" เหมือนกระชายทั่ว ๆ ไป และเมื่อพิจารณาลักษณะใบจะพบว่า ใบของกระชายดำจะใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่า กาบใบมีสีแดงจางและหนาอวบ กระชายดำมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia pandurata(Roxb.)
อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัดกับกระชายธรรมดาก็คือ เนื้อในของหัวกระชายดำจะมีสีคล้ายดั่งผลหว้า คือมีสีออกม่วงอ่อน ๆ ไปจนถึงสีม่วงเข้มถึงดำ จึงได้ชื่อว่า "กระชายดำ" กระชายดำเป็นพืชล้มลุกจัดเป็นว่านชนิดหนึ่ง ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแก่นแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบมีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 ซม. ยาว 30-35 ซม. ลักษณะใบและลำต้นเหมือนกระชายเหลืองและกระชายแดง แต่ขอบใบและก้านใบของกระชายดำอาจมีสีม่วงแกมเล็กน้อย ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกมีสีขาว กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอกอับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน การขยายพันธุ์การปลูกกระชายดำก็เหมือนกับการปลูกกระชายธรรมดาโดยทั่วไป สามารถปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำดี แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วมขังเพราะจะทำให้หัวหรือเหง้าเน่าเสียได้ง่ายส่วนใน ดินเหนียวและดินลูกรังไม่ค่อยจะเหมาะสมนัก โดยธรรมชาติแล้วกระชายดำชอบขึ้นตามร่มไม้ในป่าดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป แต่ในที่โล่งแจ้งก็สามารถปลูกกระชายดำได้ผลดี
คุณสมบัติ :
กระชายดำ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงจัดได้ว่า
เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้คึกคักกระชุ่มกระชวย
ช่วยสร้างความสมดุย์ของความดันโลหิตให้ไหลเวียนดีขึ้น
ผิวพรรณผุดผ่องสดใสและแก้โรคบิดแก้ปวดท้องเป็นต้น
สำหรับสุภาพสตรีช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลแก้ตกขาว
ขยายหลอดเลือดขจัดไขมันในหลอดเลือดโรคกระเพาะ
ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน,โรคหัวใจ..อื่นๆ
สรรพคุณ :
- บำรุงฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ชายเหนือชาย
- กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย
- บำรุงกำลัง
- เป็นยาอายุวัฒนะ ชลอความแก่
- ขับลม ขับปัสสาวะ
- แก้โรคกระเพาะอาหาร
- แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
- บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
วิธีใช้ :
- ใช้รากเหง้า (หัวสด) ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี.
- ผู้ที่ดื่มสุราไม่ได้ ให้ฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำร้อนดื่มทุกวัน หรือจะดองกับน้ำผึ้งก็ได้
ปริมาณการผสม :
- หัวสด ใช้ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด
- หัวแห้ง บดเป็นผงละเอียด ผสม น้ำผึ้ง พริกไทยป่น กระเทียมผง บอระเพ็ดผง
ในอัตราส่วน 10 : 5 : 2 : 1 : 0.5
หรือดองกับสุราขาว ในอัตราส่วน 30 กรัม ต่อสุราขาว 1ขวด
หรือใช้หัวสดหรือหัวแห้งก็ได้ ดองกับน้ำผึ้ง ในอัตราส่วน 1:1
ทานทุกวัน บำรุงกำลังดีนักแล
ประโยชน์ :
กระตุ้นประสาททำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำลัง ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เพิ่มฮอร์โมนทำให้สมรรถภาพทาง เพศเพิ่มขึ้น แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ขยายหลอดเลือดหัวใจ
• ด้วยสรรพคุณเหล่านี้ชาวเขาจึงปลูกกันมาแต่โบราณกาล
ขณะที่ชาวพื้นราบเพิ่งตื่นเต้น กับกระแสสมุนไพรไทยไม่กี่ปีมานี้เอง โดยเฉพาะบรรดาคุณผู้ชายที่เริ่มรู้ตัวว่าอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ไม่ซู่ซ่าส์เหมือนสมัยหนุ่ม ๆ พอรู้ว่ากินแล้วเพิ่มพลังอย่างว่าเลยขวนขวายหาซื้อกันใหญ่ เนื่องจาก ราคาไม่แพงมีเงินเป็นร้อยก็หาซื้อได้ ทำให้ตลาดกระชายดำมาแรงเพราะจะไปหาซื้อไวอะกร้าก็คง สู้ราคาไม่ไหว อย่างไรก็ตามถ้าไปถามนักวิชาการ ยังไม่กล้ายืนยันเรื่องสรรพคุณทางเพศเพียงแต่ บอกเป็นนัย ๆ ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้กระชุ่มกระชวยและบำรุงกำลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น