วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรไทย ไพล (Cassumunar ginger)

ไพล



ชื่ออังกฤษ :
     Cassumunar ginger
ชื่อท้องถิ่น :
     ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสำล่าง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
     Zingiber cassumunar Roxb. Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.
วงศ์ :
     Zingiberaceae
สรรพคุณสมุนไพร :
1.      แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม 
o    ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½ ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสม เกลือเล็กน้อยดื่ม 
2.      รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง 
o    ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ด ขัด ยอก 
o    ใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและบวมฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา) 
o    ใช้ไพลสดหนัก 4 บาท เกลือเม็ด 7 เม็ด การบูรหนัก 1 บาท นำมาผสมกัน แล้วตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรง 3-4 ช้อนโต๊ะ คลุกเคล้าให้ทั่วกันแล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบและนำมาผิงบนฝาละมี หรือกาละมังตั้งบนไฟให้ร้อน ประคบตรงที่ปวดเมื่อยทำซ้ำๆ 3-4 ครั้ง จะหายเคล็ดขัดยอก
3.      แก้บิด ท้องเสีย ใช้เหง้าไพลสด 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน 
4.      เป็นยารักษาหืด ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น 
5.      เป็นยาแก้เล็บถอด ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง 
6.      ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น และเป็นยาช่วยสมานแผลด้วย ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมี่น้ำมันหอมระเหย
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง :
  • ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน 
  • ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด 
  • ไม่แนะนำการใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรและเด็กเล็ก
อาการอันไม่พึงประสงค์ :
     อาจรู้สึกคันบริเวณที่ทายา
แหล่งที่มา :
     โรงพยาบาลอภัยภูเบศร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น