วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรไทย โด่ไม่รู้ล้ม (Elephants Foot)



โด่ไม่รู้ล้ม
ชื่ออื่น ๆ :
     หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี), ตะชีโกวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หญ้าไฟนกคุ่ม หนาดผา (กะเหรี่ยง), หนาดผา, เคยโป้, หญ้าไก่นกคุ่ม, หญ้าปราบ, หญ้าสามสิบสองหาย (ภาคใต้), คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย)
ชื่อสามัญ :
     Elephants Foot
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
     Elephatopus scaber Linn.

วงศ์ :
     COMPOSITAE
ลักษณะทั่วไป :
     ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากออกเป็นกอเตี้ย ๆ ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับผักชีฝรั่ง มีรากอวบ ลำต้นสูงประมาณ 5-15 นิ้ว
     ใบ : เป็นใบเดี่ยว จะออกใบรอบ ๆ โคนต้น ลักษณะของใบปลายจะมนหรือแหลม โคนใบ จะสอบและแคบกว่าปลายใบ ใบจะคล้ายกับใบผักกาด ทั้งสองด้านจะมีขนปกคลุมอยู่มีสีเขียว แต่ก็อาจจะมีส่วนคล้ายใบผักชีฝรั่งบ้างคือขอบใบจะจักเป็นซี่ฟันตื้น ๆ ขนาดของใบกว้างประมาณ
0.5-2.5 นิ้ว ยาว 2-12 นิ้ว
     ดอก : ออกดอกเดี่ยว ๆ มีสีม่วงแดง หรือสีขาวลักษณะของดอกเป็นฝอยออกเป็นกระจุก ตรง โคนดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบมีก้านดอกยาวและแข็ง
     ผล : แห้ง เป็นสันมีอยู่ 10 สันได้และยาวประมาณ 4 มม. รอบ ๆ ผลจะมีขนนุ่ม ๆ ปกคลุม อยู่
การขยายพันธุ์ :
     เป็นพรรณไม้ที่ไม่ค่อยมีผู้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ส่วนมากจะปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ ทางด้านสมุนไพรมากกว่า ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นหรือหัว
ส่วนที่ใช้ :
     ต้น ราก ใบ
สรรพคุณ :
     รากและใบ นำมารวมกันต้มเป็นยาแก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้อาการท้องร่วง แก้บิด กระเพาะเป็นแผล บรรเทาอาการ อาการเจ็บหน้าอก กินแก้กามโรคในสตรี เป็นยาปฏิชีวนะก็ได้ ต้น ถ้านำมาต้มทั้งต้นเลย จะเป็นยาแก้ไอ วัณโรค แก้อักเสบ แก้ไข้ ห้ามเลือดกำเดา เป็นยาฝาดสมาน เหน็บชา นิ่ว ท้องมาน ใช้บำรุงหัวใจก็ได้ หรือขับน้ำเหลืองเสีย ใบ นำมาสด ๆ มาต้มกับน้ำมะพร้าวใช้รักษาโรคผิวหนังหรือแผลต่าง ๆ
     ลำต้นและใบ เอามาต้มรวมกันจะเป็นยาบำรุงเลือดได้ดีมาก ทำให้อยากอาหาร เหมาะสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ราก ถ้าตำผสมกับพริกไทยจะแก้อาการปวดฟัน หรือนำมาต้มรับประทานหลังคลอดบุตร แก้อาเจียนได้
ข้อห้ามใช้ :
     ผู้หญิงที่มีครรภ์ห้ามรับประทาน หรือผู้ที่กลัวหนาวแขนขาเย็น
ถิ่นที่อยู่ :
     จะพบอยู่ทั่ว ๆ ไปตามทุ่งหญ้า แถวป่าทางภาคเหนือและภาคตะวันออก และภาคใต้ก็ อาจจะมีอยู่บ้าง
ส่วนประกอบทางยา :
     พืชในตระกูล Elephantopus จะมีองค์ประกอบ Sesquiterpene Lactone ซึ่งได้มีการวิเคราะห์จากกลุ่ม Philippine compositae ตระกูลต่าง ๆ จึงพบว่ามีส่วนประกอบของ Glaucolide-B; Deoseyelephantopia ; Isodeoseyelephantopen
ตำรับยา :
     1. เลือดกำเดาออก ให้ใช้ต้นสด 30-60 กรัมต้มกับเนื้อหมูแดงพอประมาณ แล้วทานติดต่อกัน 3-4 วัน (ถ้าเป็นต้นแห้งให้ใช้ 10-15 กรัม)
     2. โรคดีซ่าน ใช้ต้นสด 120-240 กรัม ต้มกับเนื้อหมูกินติดต่อกัน 4-5 วัน
     3. ท้องมาน ใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าเย็นหรือตุ๋นกับเนื้อหมูทานก็ได้
     4. เหน็บชา ใช้ต้นสด 30-50 กรัม ผสมกับเต้าหู้ 60-120 กรัม หรือตุ๋นนำมาทานแก้ได้
     5. ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ใช้ต้นสด 30 กรัมต้มผสมน้ำดื่ม
     6. นิ่ว ใช้ต้นสด 90 กรัม ต้มผสมกับเนื้อหมู 120 กรัม ใส่เกลือเล็กน้อยทาน 4 ครั้ง
     7. ทอนซิลอักเสบ หรือเจ็บคอ ให้ใช้ต้นที่แห้ง 6 กรัมนำมาแช่น้ำร้อน 300 มล. ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วดื่ม หรืออาจทำเป็นเม็ดทานก็ได้
     8. ฝีบวมหรือฝีหนอง ใช้ต้นสดตำใส่เกลือ และน้ำส้มสายชู นำไปพอกตรงบริเวณที่เป็นนั้น
ข้อมูลทางคลีนิค :
     1. อักเสบจากการติดเชื้อชนิดต่าง ๆ โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 3 กรัม/มล. ฉีดเข้า
กล้ามเนื้อครั้งละ 2 มล. วันละ 2-3 ครั้งในคนไข้ 112 รายซึ่งหลอดลมอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ลำไส้อักเสบ ฯลฯ พบว่าได้ผลดี 68 ราย ดีขึ้นชั่วคราว 38 ราย ไม่ได้ผลเลย 6 ราย
     2. แผลเปื่อยในปาก ใช้ต้นแห้ง 30 กรัม ต้มน้ำดื่มวันละครั้ง ในคนไข้ 22 ราย หายจากอาการ 18 รายเฉลี่ยแล้วอาการดีขึ้นคือ 3 วันและติดตามมาเป็น 3 เดือน ผลปรากฏว่าผู้ป่วยทุกคนไม่มีอาการเกิดขึ้นอีก แต่พบว่ามีอาการรู้สึกไม่สบายท้อง
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
     ส่วนสกัดจากต้นด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphyloeocccus
aureus และ Escherichia coli.
สารเคมีที่พบ :
     ภายในต้นโด่ไม่รู้ล้มนี้จะมีสารประกอบจำพวก epifriedelinol; lupeol; Stigmasterol;
triacontan-lol; Potassium chloride; lupeol acetate; deoxyelephantopin; isodeoxy elephantopin
หมายเหตุ :
     พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น